วัดเก่าในสมัยอยุธยาที่ได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยกรมหลวงเสนีบริรักษ์ (ต้นสกุลเสนีวงศ์) พระอุโบสถของ “วัดเสนีวงศ์” นับว่ามีรายละเอียดของสถาปัตยกรรมอันงดงามมีการทำชายหลังคาของพาไลรอบพระอุโบสถแบบวัดพระศรีรัตนศาสดารามหน้าบันสลักไม้ลวดลายประณีตซุ้มประตูทางเข้าวัดทำเป็นหัวเม็ดเสาสี่เหลี่ยมย่อมุมสิบสองสูงขึ้นและเอนเข้าหากันเพื่อเป็นการรับน้ำหนักตัวอาคารเสาใกล้จะถึงส่วนหลังกำแพงแก้วมีบัวหงายรองรับอีกต่อหนึ่งเป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลายตัวซุ้มแหวะเป็นช่องหน้าต่างสามช่องทรงยอดโค้งคล้ายซุ้มจระนำข้างบนมียอดเล็ก ๆ ปั้นปูนรับกับบัวยอดซุ้มและแข้งสิงห์เบื้องล่างลวดลายบ่งชัดว่าเป็นฝีมือช่างสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศบานประตูพระอุโบสถทั้งหน้าและหลังมีด้านละสองบานลวดลายทองบนบานประตูและหน้าตามีความละเอียดอย่างมากผนังด้านใจเขียนภาพจิตรกรรมฝีมือช่างสกุลนนทบุรีพระพุทธรูปในพระอุโบสถก็ได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 3 เช่นกันและมีเจดีย์ล้อมรอบตัวพระอุโบสถทั้งสี่ด้านบริเวณด้านหน้าอุโบสถมีหินสลักเป็นรูปยักษ์รักษาวัดตนหนึ่งหน้าดุอีกตนหนึ่งหน้ายิ้มในมือถือกระบองซึ่งวัดในละแวกนี้ไม่มีภาพสลักแบบนี้ส่วนหอระฆังของวัดเป็นมณฑปยอดเจดีย์ผสมกันระหว่างหอสูงรูปสี่เหลี่ยมและเจดีย์ย่อมุม เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 8.00-16.30 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0 2276 2720-1