การเมือง
มหาดไทยมอบรางวัล “ผู้ว่าราชการจังหวัดสำเภาทอง” 26 จังหวัดช่วยประชาชนกินดี อยู่ดี มีสุขอย่างพอเพียง
วันอาทิตย์ ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565, 20.52 น.
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
มท.2 ร่วมแสดงความยินดี และมอบรางวัล “ผู้ว่าราชการจังหวัดสำเภาทอง” ประจำปี 2565 จำนวน 26 จังหวัด ย้ำการทำงานบูรณาการร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนสามารถช่วยเหลือประชาชนพื้นที่ กินดี อยู่ดี ครอบครัวมีความสุขอย่างพอเพียง
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.30 น. ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มอบหมายให้ นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลผู้ว่าราชการจังหวัดสำเภาทอง ภายในงานสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 40 ภายใต้แนวคิด “Connect the Dot : Enhancing Thailand Competitiveness” โดยมี นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นายชลธี ยังตรง ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นายมงคล จุลทรรศน์ ประธานหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี ผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับรางวัล ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน คณะกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานและเลขาธิการหอการค้าจังหวัดทั่วประเทศ และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (YEC) ร่วมพิธี
นายทรงศักดิ์ เปิดเผยว่า “รางวัลสำเภาทอง” เป็นรางวัลแห่งความภาคภูมิใจและเป็นเกียรติยศของกระทรวงมหาดไทยอันเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงสัมพันธภาพและมิตรภาพอันดีระหว่างภาครัฐและเอกชนในการบูรณาการร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในทุกระดับพื้นที่อย่างมั่นคงและยั่งยืน ซึ่งเป็นการเชิดชูผลงานและแสดงถึงความขอบคุณแด่ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ให้ความสำคัญและดำเนินงานร่วมกับภาคเอกชนในพื้นที่ มีหลักเกณฑ์การพิจารณาผู้ว่าราชการจังหวัดรางวัลสำเภาทองใน 4 มิติ คือ 1) มิติด้านความร่วมมือและการมีส่วนร่วม 2) มิติด้านการสนับสนุนการดำเนินงานของหอการค้าจังหวัด 3) มิติด้านการบริหารราชการจังหวัด และ 4) มิติด้านความสัมพันธ์และทัศนคติ ในปี 2565 มีผู้ว่าราชการจังหวัดผ่านเกณฑ์การพิจารณา จำนวน 26 จังหวัด ได้แก่
1. นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่
2. นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี)
3. นายไมตรี ไตรติลานันท์ เกษียณอายุราชการ (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา)
4. นายภาสกร บุญญลักษม์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย
5. นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง
6. นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม
7. นายวิเชียร จันทรโณทัย เกษียณอายุราชการ (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา)
8. นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ เกษียณอายุราชการ (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช)
9. นายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ เกษียณอายุราชการ (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี)
10. นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน
11. นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา)
12. นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
13. นายเชษฐา โมสิกรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน
14. นายชลธี ยังตรง ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร)
15. นายชาญนะ เอี่ยมแสง เกษียณอายุราชการ (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง)
16. นายรณภพ เหลืองไพโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
17. นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี)
18. นายสิธิชัย จินดาหลวง เกษียณอายุราชการ (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง)
19. นายชัยธวัช เนียมศิริ เกษียณอายุราชการ (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเลย)
20. นายวัฒนา พุฒิชาติ เกษียณอายุราชการ (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ)
21. นางจุรีรัตน์ เทพอาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร
22. นายณรงค์ รักร้อย ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร
23. นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี
24. นายสุวพงศ์ กิติภัทย์พิบูลย์ เกษียณอายุราชการ (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์)
25. นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี)
26. นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี)
นายทรงศักดิ์ กล่าวตอนท้ายว่า การดำเนินงานในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยสามารถฟันฝ่าอุปสรรคและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจมาได้ ด้วยความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วน โดยส่วนหนึ่งของความสำเร็จดังกล่าว เกิดจากการขับเคลื่อนโดยผ่านกลไกของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ซึ่งเป็นการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีการกินดีอยู่ดี ครอบครัวมีความสุขอย่างพอเพียงแล้ว ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาทางสังคมและปัญหาทางด้านความมั่นคงของประเทศ อันเป็นภารกิจอันดับแรกในความมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาของกระทรวงมหาดไทยด้วย นอกจากนี้ ปัจจุบันกระทรวงมหาดไทยร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายประกาศทำสงครามกับยาเสพติดด้วยหลักคิด Change for Good และหลักการทำงานเชิงรุก โดยใช้หลักการกลไก 3 ระดับ 5 กลไก 7 ภาคีเครือข่าย มาเป็นกลไกสำคัญในการบูรณาการในการขับแคลื่อนปฏิบัติการขจัดยาเสพติดให้สิ้นซากอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการป้องปรามและด้านการบำบัดฟื้นฟูอย่างจริงจังและต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อให้ประชาชนชาวไทยและประเทศชาติหลุดพ้นจากวงจรยาเสพติดอันเป็นพิษร้ายทำลายเศรษฐกิจและโครงสร้างสังคม และร่วมกันขับเคลื่อนไปสู่สังคมไทยที่ปลอดยาเสพติดอย่างแท้จริง
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่